ดอกไม้จะบาน

Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เจาะใจ"เลขาธิการก.พ."ขรก.ล้มละลายปิดไม่มิด-เผย14กรมดาวแดงกลุ่มสูงอายุพุ่ง-องค์การมหาชนอื้อซ่า



วันที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 04:05:38 น.  มติชนออนไลน์

เจาะใจ"เลขาธิการก.พ."ขรก.ล้มละลายปิดไม่มิด-เผย14กรมดาวแดงกลุ่มสูงอายุพุ่ง-องค์การมหาชนอื้อซ่า

ปัจจุบันต้องยอมรับว่าบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)ทำให้หน่วยงานนี้ถูกจับตามองจากทุกภาคส่วน
       

จากบทบาท พี่เลี้ยง สำนักงาน ก.พ.ดูแลคนของภาครัฐและหน่วยราชการ หลายแสนคน ล่าสุด  มติชนออนไลน์  สัมภาษณ์พิเศษ “เบญจวรรณ  สร่างนิทร” เลขาธิการ ก.พ.   ในประเด็นสำคัญ หลายประเด็น ดังนี้   
    

ปัจจุบัน ข้าราชการถูกฟ้องล้มละลาย  ทำให้ขาดคุณสมบัติ ต้องพ้นจากตำแหน่ง มีมากน้อยแค่ไหน ?
    

เราพูดไม่ได้ว่า มาก หรือ น้อย แค่ไหน   เพราะไม่มีตัวเลขข้อมูลที่เป็นทางการ    แต่ปัญหาว่า ถ้าล้มละลายแล้วขาดคุณสมบัติของการเป็นข้าราชการ   ปัญหานี้ ในช่วงที่เขียนเรื่องคุณสมบัติทั่วไปสำหรับคนที่เป็นราชการ เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันมากว่า ควรจะใส่รายละเอียดว่าอย่างไร เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ แต่ท้ายที่สุดทุกคนก็เห็นด้วยให้ใส่ไว้  แต่ถ้าจะถามว่าวันนี้ตัวเลขข้าราชการถูกฟ้องล้มละลายมีจำนวนมากหรือน้อย เท่าไร ไม่รู้เพราะทางสำนักงาน ก.พ.ไม่เคยมีการเก็บตัวเลขตรงนี้  
      

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้าราชการคนไหน ต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ เพราะไม่มีการตรวจสอบไม่มีข้อมูล

จริงๆแล้วต้องมาบอก แต่ถ้าสมมติว่า นาย ก. ล้มละลายแล้ว ปกปิด ก็ปิดไม่มีมิดหรอก เพราะการทำงานทุกวันนี้ทุกคนก็จ้องเรื่อยขาเก้าอี้กันทั้งนั้น  
    

สิ้นปี 2553 มีข้าราชการเกษียณอายุเท่าไหร่
 

จากการเก็บสถิติทุกปีตัวเลขข้าราชการเกษียณอายุจะอยู่ที่ประมาณ 3,000-4,000 คนไม่หนีกันเท่าไหร่ อย่างปีที่ผ่านมามีข้าราชการเกษียณอายุทั้งหมด 3,300 คน ทำให้สามารถรับคนใหม่เพิ่มเข้าในหน่วยราชการอีก 3,000 กว่าคนเพราะวันนี้อัตราข้าราชการที่เกษียณอายุไม่ได้ถูกยุบไปด้วยแต่จะรับ ใหม่ทดแทนแล้วจัดสรรให้กับหน่วยราชการที่มีความต้องการบุคลากร 
 

หากมองไปข้างหน้า ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุที่เยอะขึ้น ตรงนี้กระทบกับระบบราชการไหม
  

เรื่องโครงสร้างอายุ ทางก.พ.ได้ทำการสำรวจข้อมูลเหมือนกัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ในหน่วยราชการหลายแห่งมีผู้สูงวัยอยู่เยอะมาก   ข้อมูลรายกระทรวงที่เก็บได้ พบว่ากระทรวงสาธารณะสุขเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีคนสูงวัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่อายุเฉลี่ยน้อยกว่าหน่วยงานรัฐอื่น เมื่อไปดูในรายละเอียดพบว่า เป็นผลมาจากกระทรวงสาธารณสุขมีแพทย์และพยาบาลที่ถูกบังคับให้รับราชการเพื่อ ใช้ทุนจึงดึงอายุเฉลี่ยของข้าราชการในกระทรวงให้ต่ำลง
  

 ข้อมูลที่ได้จึงไม่สามารถบ่งชี้สถานะที่แท้จริงในเรื่องอายุของข้า ราชการได้ ก.พ.จึงได้เจาะลึกไปในส่วนของกรม คราวนี้เจอ 14 กรมที่มีดาวแดงในเรื่องกลุ่มผู้สูงอายุอยู่เยอะ
  

พอเอาเรื่องเข้าที่ประชุมก.พ.ก็มีคนอยากเห็น เรื่องนี้นำไปสู่การปฏิบัติ จึงได้เชิญหัวหน้าส่วนราชการใน 14 กรมดาวแดงมาหารือ ซึ่งถ้าจะเอาจริงทั้ง 14 กรมเลยคงต้องใช้กำลังมาก และต้องใช้เวลานาน ในเบื้องต้นจึงขอแค่ 3 กรมที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการหาวิธีการรองรับกับผู้สูงวัยที่กำลังจะไป
  

กรมนำร่อง ก็มี กรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมการค้าภายใน
   

อีกโครงการหนึ่งที่ สำนักงานก.พ.ทำมาตั้งแต่ปี 2552 จะไปสิ้นสุดโครงการในปี 2555 คือ โครงการเออร์ลี่รีไทร์ เพื่อดึงโครงสร้างอายุของข้าราชการให้ลดลง ซึ่งตอนนี้ได้ดำเนินการไปสองปีแล้ว มีข้าราชการเข้าร่วมโครงการประมาณ 10,000 กว่าคน ส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการครูที่สนใจเข้าร่วมโครงการกันเยอะ

ในขณะที่ระบบราชการพยายามกระชับพื้นที่ ไม่ให้มีการขยายตัวมากนัก แต่ปรากฏว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีองค์การมหาชน พิเศษ เกือบ 60 แห่ง จะสวนทางกันไหม ?

 

ตรงนี้เป็นเรื่องที่มีการพูดกันเยอะเหมือนกัน วันนี้จำนวนราชการคุมอยู่แต่พอไปออกหน่วยงานอื่นในรูปขององค์การมหาชนรัฐก็ ต้องมีระบบที่ไปกำกับติดตามการทำงานที่ชัดเจน
ที่สำคัญต้องตอบคำถาม ประชาชนให้ได้ว่า ท้ายที่สุดเจ้าหน้าที่ของรัฐมีกี่ประเภทแน่ แล้วประเภทไหนใช้งบประมาณไปเท่าไหร่ ประเภทไหนมีผลผลิตให้ประเทศชัดเจนแค่ไหน 

องค์การมหาชน ที่ผุดเป็นดอกเห็ด  ถือเป็นการสร้างอาณาจักรใหม่ ไม่รู้จบ

มันไม่ใช่อาณาจักรใหม่ วันนี้เราต้องยอมรับว่า โลกไม่ได้อยู่กับที่ โลกเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราก้าวไม่ทันในบางเรื่อง เราก็ล้าสมัย

วันก่อนตามเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไปศูนย์ซินโครตรอนที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ศูนย์ซินโครตรอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ญี่ปุ่น อันดับสองอยู่อเมริกา อันดับสี่อยู่นครเซี่ยงไฮ้ เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาช่วงของแสงที่มีจุดโฟกัสที่ ตัวเชื้อโรคที่เรามองไม่เห็นทำให้สามารถเห็นโครงสร้างของเชื้อโรค แล้วบอกได้ว่าเชื้อโรคแต่ละชนิดประกอบด้วยอะไรบ้าง  ซึ่งประโยชน์ที่ได้มหาศาล

ดังนั้นถ้าคนอื่นเขาไปแล้วเรายังทำเหมือนเดิม ก็หมายความว่าเราล้าสมัย เพราะวิทยาการทั้งหลายมันเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา    องค์กรใหม่ๆ สำหรับประเทศไทยก็ยังมีความจำเป็นอยู่ เพียงแต่ว่าต้องทำบทบาทให้มีประสิทธิภาพมีศักยภาพ แล้วตอบคำตอบประชาชนให้ได้ว่า งานที่หน่วยงานพิเศษเหล่านี้ทำคุ้มค่ากับภาษีราษฏรหรือไม่
 

ทิศทางการพัฒนาคนของภาครัฐนับจากนี้ไป 3 ปี 5 ปีจะเป็นอย่างไร
   

 เรื่องการพัฒนาคนเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆตั้งแต่การเตรียมกำลังคน การให้ความสำคัญกับกลุ่มกำลังคนบางประเภท เช่น ผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์สูง กลุ่มคลื่นลูกใหม่ของระบบ ยังไม่รวมกลุ่มคนเก่ง(Talent)ที่ต้องดูแล
    

ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการออกแนวปฏิบัติในเรื่องมาตรฐานสมรรถนะของข้าราชการทั้งระบบ ทุกเก้าอี้มีรายเอียดหมด โดยข้าราชการ 381,000 คน จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ บริหาร อำนวยการ วิชาการ ทั่วไป   และแต่ละประเภทจะมีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายในการกำหนด คุณสมบัติต่างๆ
  

ยกตัวอย่างเช่น ตำแหน่งวิชาการจะต้องมีความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรรถนะเรื่องอะไรบ้างที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งนี้

ในเรื่องสมรรถนะหลักก็จะมุ่งไปที่ผลสัมฤทธิ์ของการทำงาน การทำงานเป็นทีม เอาเป็นว่าถ้าจำแนกลงไปในรายละเอียดแล้วคนเหล่านี้ต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้ ความสามารถหรือสมรรถนะด้านใดก็ตาม บทบาทสำคัญของส่วนราชการคือต้องพัฒนาคนให้ได้มาตรฐานที่กำหนดก็มหาศาลแล้ว ยังไม่พูดถึงการพัฒนาบุคลากรให้เหนือมาตรฐาน
 

ส่วนการเตรียมคนเพื่อที่จะก้าวเป็นผู้บริหารลำดับถัดไปก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องเริ่มสร้างให้ทัน
 

หน่วยราชการต่างๆต้องคิดแล้วว่าจะสร้างคนอย่างไร ตั้งแต่วันแรกที่เขาก้าวเข้ามารับราชการหรือเปล่า ถ้าใครที่มีศักยภาพที่ดีระบบใหม่เปิดให้สร้างคนเก่งเหล่านี้ขึ้นมาเป็นผู้ บริหารได้ ไม่ใช่ว่าใครเกิดตรงไหนต้องตายตรงนั้น
 

ทุกสายงานต้องมีความก้าวหน้าในอาชีพให้กับข้าราชการทุกคน และต้องสร้างระบบให้มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนการทำงานกันได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้พัฒนาความสามารถเรียนรู้งานใหม่ๆในส่วนงาน อื่นๆ นอกจากภารกิจงานที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน
 

นอกจากนั้นหน่วยราชการต้องโฟกัสไปเลยว่า ข้าราชการแต่ละคนจะต้องพัฒนาตรงไหน ถ้าทุกหน่วยงานตระหนักถึงการยกระดับบุคลากรภาครัฐให้ได้มาตรฐาน ผลผลิตของภาครัฐก็น่าจะตอบสนองกับความพึงพอใจของประชาชนทั้งประเทศไทย
 

และสิ่งเหล่านี้คือพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ที่พลิกระบบการบริหารจัดการด้านบุคลากรที่หลากหลายมากขึ้น

...................

                           http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1280920308&grpid=00&catid=

--
http://www.classifiedthai.com/event_view.php

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

YouTube - ชีวิตนี้จะไม่ลืมเสื้อแดง

YouTube - ชีวิตนี้จะไม่ลืมเสื้อแดง

prawit12456 June 13, 2010

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

สหภาพแรงงานถกปัญหาการจ้างงานชั่วคราว

สหภาพแรงงานถกปัญหาการจ้างงานชั่วคราว

 

 
7 ม.ค. 53 - ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาแรงงาน และคณะกรรมการ ICEM ประเทศไทยได้จัดงานระดมความคิดในหัวข้อ “คนงานชั่วคราวกับเสรีภาพการรวมกลุ่ม และการเจรจาต่อรองร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อให้ความรู้กับคนงานถึงความหมายและความสำคัญของมาตรฐานแรงงานสากล ว่าด้วยเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรองร่วม นำเสนอตัวอย่างในการทำงานของสหภาพแรงงานในการรวมกลุ่ม คนงานชั่วคราว และเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการส่งเสริมการรวมกลุ่มให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยสมาชิกสหภาพแรงงานทั้งภาครัฐ, รัฐวิสาหกิจและเอกชน รวมทั้งสื่อมวลชน นักศึกษา บุคคลทั่วไป กว่า 100 คน เข้าร่วมเสวนาระดมความคิดเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการจ้างงานแบบชั่วคราว
 
นักวิชาการชี้ สังคมต้องมีการพูดเรื่องแรงงานให้มากขึ้น
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่านักวิชาการสมัยใหม่ไม่ค่อยแตะต้องเรื่องแรงงาน ปัจจุบันมีการอ้างถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่มักจะไม่ค่อยเห็นการพูดถึงเรื่องของแรงงาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญของสังคมเพราะเด็กที่เรียนในมหาวิทยาลัยยังไม่ รู้ตัวเลยว่าจบออกไปแล้วจะไปเป็นแรงงาน
 
ทั้งนี้ พิชญ์ยังได้ให้ความหมายของการจ้างงานแบบยืดหยุ่น ว่าคือการจ้างงานที่ไม่ได้มีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นระบบ คำนี้มีเสน่ห์อยู่ 2 เรื่อง หนึ่งคือนายจ้างชอบ เพราะจ้างง่าย เลิกจ้างง่าย และสองคือการจ้างงานตามฤดูกาล สามารถเอางานกลับมาทำที่บ้านได้ แรงงานยืดหยุ่นสวัสดิการน้อย การจ้างงานแบบชั่วคราวอาจจะดีสำหรับบางกลุ่ม เช่น การรับงานมาทำที่บ้าน แต่ถ้ามองในระยะยาว สวัสดิการและความมั่นคงน้อย
 
“เราอาจจะได้เงินเยอะ ในขณะที่ความมั่นคงน้อยลง แต่มันมีความมั่นคงมากกว่าการทำเกษตรกรรม ที่ต้องพึ่งดินฟ้าอากาศและได้เงินน้อยกว่า ปัญหาของการจ้างงานชั่วคราวมันทำให้ความมั่นคงน้อยลง เราอาจจะได้เงินมาก แต่ถ้าเวลาเราป่วยหรืออะไรจะไม่มีสวัสดิการรองรับ” พิชญ์ กล่าว
 
คุณภาพชีวิตแรงงานต่างกัน ส่อความเหลื่อมล้ำในองค์กร
ระวัย ภู่ผะกา สหภาพแรงงานองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า พนักงานประจำไม่มีการใส่ใจกับการทำงาน เลยเกิดการจ้างงานแบบใหม่ซึ่งก็คือการจ้างงานแบบชั่วคราว เพื่อรับกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยแรงงานในส่วนนั้นจะถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างมาก ทั้งที่ลูกจ้างชั่วคราวทำงานเหมือนลูกจ้างประจำทุกประการ แต่ลูกจ้างชั่วคราวกลับไม่ค่อยได้มีโอกาสในการรับสวัสดิการต่างๆ เช่น การขึ้นเงินเดือน ทั้งความเป็นอยู่ระหว่างแรงงานสองประเภทนี้ต่างกัน ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ส่งผลให้มององค์กรในแง่ลบและความจงรักภักดีกับองค์กรหายไป ซึ่งเหล่านี้อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังได้
 
“สิ่งเหล่านี้ผมคิดว่าสหภาพฯต้องยื่นมือเข้าไปช่วย แต่มีปัญหาคือลูกจ้างไม่ยอมสมัครเข้าสหภาพฯ สิ่งที่ผมกลัวที่สุดคือ เมื่อผมเรียกโบนัสให้ลูกจ้างไม่ประจำ ลูกจ้างประจำก็ไม่พอใจ เพราะจะไปเป็นตัวหาร”
 
“การรวมตัวจะไม่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า เนื่องจากลูกจ้างไม่ให้ความสำคัญกับสหภาพฯ” ระวัยกล่าว
 
แรงงานอย่าหวังพึ่ง ‘เทวดาสามองค์’มากนัก ย้ำให้สู้ด้วยตนเอง
สุพจน์ พงษ์สุพัฒน์ สหภาพแรงงานข้าราชการและคนทำงานภาครัฐ กล่าวว่า ILO 87,98 เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ แต่มันไม่ได้เป็นยาวิเศษ ไม่ได้มีบทแซงชั่นอย่างเป็นทางการ อย่างดีก็ได้แค่ประจานในที่ประชุมเท่านั้น ที่เจ็บปวดที่สุดสำหรับลูกจ้างชั่วคราวคือ ค่าจ้างค่าตอบแทนไม่เป็นธรรม สถานะไม่มั่นคง ไม่มีอนาคต เรียกลูกจ้างด้อยสิทธิ
 
“กลุ่มที่ด้อยที่สุดในประเทศไทยคือ พวกลูกจ้างรัฐอย่างพวกผม โดนตัดหมด ลางาน ลาป่วย ไม่น่าเชื่อว่าอยู่ในกรมสวัสดิการฯ กระทรวงแรงงาน ดูแลสิทธิของคนงานเสียเองยังโดน”
 
“กุญแจสำคัญคือคุณต้องรวมตัวกัน แล้วต่อรองให้ได้ ไม่อย่างนั้นคุณไม่มีทาง เวลานี้ลูกจ้างชั่วคราวจะรวมตัวกันได้อย่างไร สหภาพต้องเปิดช่องให้เข้าไปให้ได้ ให้เขารวมตัวกันให้ได้" สุพจน์กล่าว
 
ฟรีแลนซ์ก็เหมือนผี...ไร้ตัวตน
ปราณี ศรีกำเนิด สหภาพแรงงานสื่อสารมวลชนไทย (เนชั่น) กล่าวถึงการทำงานในวงการสื่อว่า นายจ้างใช้ช่องในการทำงานแบบฟรีแลนซ์ในการจ้างงาน แต่ไม่มีสหภาพฯ เหมือนเป็นผี สวัสดิการต่างๆก็ไม่ได้เลย ทั้งๆที่ทำงานเหมือนลูกจ้างประจำทุกอย่าง อยู่กันมาอย่างนี้ คีย์เวิร์ด คือคนที่มีปัญหาต้องรวมตัวกัน เราค่อนข้างโชคดีอย่างหนึ่งคือบริษัทของเราหน้าบาง ทั้งยังกล่าวว่าลูกจ้างจะต้องรู้กฎหมาย กฎหมายจะช่วยให้เจรจาได้ง่ายขึ้น
 
“ถ้าเรารวมตัวกันได้ รู้กฎหมายจะช่วยได้มาก แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่จะประสบความสำเร็จ” ปราณีกล่าว
 
ประกอบ ปริมล สร.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตกล่าวว่าคนงานคือคนที่สร้างสรรพสิ่งทุกอย่างในโลก ในยุโรปเขาสู้มาเป็นร้อยๆปี เราเพิ่งมาสู้ 50 ปี อย่าเพิ่งท้อ เรากำลังรณรงค์ให้เราสร้างสหภาพแรงงาน สหภาพฯเป็นตัวหลักที่สำคัญ ผมกล้าพูดได้ว่าบริษัทต่างๆที่ไม่มีการรวมตัวเป็นสหภาพว่า การอยู่รอดนั้นยาก ผมว่าปีนี้เป็นปีเริ่มแรก ที่แรงงานจะต้องไปในทางเดียวกัน ในวันที่ 1 พ.ค. นี้เราต้องร่วมเดินขบวนร่วมกัน การต่อสู้กับอำนาจรัฐนั้นบางทีสู้ไม่ไหว ก็ต้องขอความร่วมมือกับแรงงานต่างชาติ เราต้องหาทางชนะอย่างเดียว ถ้าแพ้หมายความว่าเราจะต้องตกงาน
 
ความหมายที่แท้จริงของ ILO 87 ,98 คือ การรับลูกจ้างชั่วคราวมาเป็นลูกจ้างประจำ
พรวิษณุ พื้นผา อดีตลูกจ้างชั่วคราวจาก สร.ไทยอินดัสเตรียลแก็ส ได้เล่าว่า ความเจ็บปวดของการเป็นแรงงานจ้างเหมา คือการไม่สามารถเข้าร่วมกับสหภาพฯ ซึ่งเคยถูกชักชวนให้เข้าสหภาพฯ เมื่อครั้งยังเป็นลูกจ้างชั่วคราว แต่ถูกข่มขู่จึงไม่กล้าสมัครสมาชิก มาถึงตอนที่ถูกเลิกจ้างจึงได้แจ้งสหภาพฯ สิ่งที่ได้คือ 1.คนงานจ้างเหมาเข้าร่วมสหภาพได้ การรับสมาชิกหรือไม่รับขึ้นอยู่กับสหภาพ 2. สหภาพเป็นตัวแทนเจรจาให้กับคนงานได้
 
กุญแจอยู่ที่การรวมตัว
อรัญญา ภคภัทร ผู้ประสานงาน ICEM ได้สรุปว่า การจ้างงานประจำและสมาชิกสหภาพแรงงานลดลงไปเรื่อยๆ เพราะเกษียณอายุ และคนรุ่นใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน ลูกหลานพนักงานประจำ เข้ามาทำงานก็มาเป็นคนงานชั่วคราว เพราะเขาไม่รับเป็นประจำ กุญแจจึงอยู่ที่การรวมตัวกัน สหภาพเองก็ต้องเป็นหัวจักรในการต่อรองโดยมีสมาชิกร่วมกันขับเคลื่อนและยัง กล่าวว่าสหภาพแรงงานเป็นองค์กรประชาธิปไตย มาจากการจัดตั้งของคนงาน ดังนั้นการดำรงอยู่ของสหภาพแรงงานและการจัดตั้งขึ้นอยู่กับคนงานเอง  
 
ส่วนอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 (สิทธิในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรองร่วม) เป็นอนุสัญญาหลักซึ่งการเป็นอนุสัญญาหลักมาจากการตกลงกันในที่ประชุมระดับ โลกระหว่างแรงงาน นายจ้าง และรัฐ ความหมายของการเป็นอนุสัญญาหลักคือ คนงานทุกคนมีสิทธิตามหลัก 87 และ 98 คือการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพ และการเข้าร่วมในการใช้สิทธิการเจรจาต่อรองร่วม ดังนั้นเราจะต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ลึกซึ้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริง เพราะถ้าไม่มีสหภาพเราจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
 
http://www.prachatai.com/journal/2010/03/28015

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

อบรมภาษา พัฒนา"แรงงาน" ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.นนทบุรี

วันที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7039 ข่าวสดรายวัน


นนท์อบรมภาษา พัฒนา"แรงงาน"




นาง เธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.นนทบุรี เปิดเผยว่า จากนโยบายให้แรงงานไทยพัฒนาศักยภาพทางด้านไอทีและภาษาต่างประเทศ เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ที่ประเทศไทยต้องเตรียมกำลังแรงงานให้มีทักษะทางด้านภาษาเพิ่มขึ้น จึงเปิดฝึกอบรมหลักสูตร "ภาษาอังกฤษคำต่อคำ" แบ่งเป็น
ระดับ 1 ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันขั้นพื้นฐาน 33 ชั่วโมง
ระดับ 2 ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันขั้นประยุกต์ใช้งาน 33 ชั่วโมง และ
ระดับ 3 ภาษาอังกฤษในการทำงาน 33 ชั่วโมง
ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้ฝึกทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้ สนทนาภาษาอังกฤษกับอาจารย์เจ้าของภาษาแบบคำต่อคำ และฝึกโต้ตอบกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน ผู้สนใจสมัครและติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.นนทบุรี ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี โทร.0-2595-4046-8


หน้า 28
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaVoyc3dNakE0TURNMU13PT0=&sectionid=TURNek1nPT0=&day=TWpBeE1DMHdNeTB3T0E9PQ==
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 5 มี.ค. (ทำเนียบรัฐบาล) การดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศ

การดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศ

วันที่ 4−5 มีนาคม 2553


ธุรกิจค้าแรงงานข้ามชาติ ไม่ได้วางอยู่บนฐานว่า แรงงานที่ไปต่างประเทศจะมีรายได้เท่าไหร่ และไม่ได้ผูกติด อยู่กับว่าคนงานจะสามารถอยู่จนครบ ‘สัญญา’ ได้หรือไม่
เป้าหมายง่ายๆ ของธุรกิจค้าแรงงานก็แค่รับ สมัครคนงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยพัฒนาวิธีการต่างๆ ที่จะหลอกล่อให้คนมาเซ็นสัญญา ‘เดินทาง ไปทำงานต่างประเทศ’ ให้มากที่สุด เพื่อให้ได้เงินมากที่สุด


ทุกวันนี้ค่านายหน้าในการจัดหางานไปอิสราเอลอยู่ที่ประมาณ 375,000 บาท แคนาดา สเปน และสหรัฐฯ อยู่ระหว่าง 400,000-750,000 บาท
โปแลนด์ 250-400,000 บาท ส่วนสัญญาการทำงาน ในสวีเดนหรือฟินแลนด์เป็นเวลา 2 เดือน ต้องเสียค่านายหน้า 85,000-125,000 บาท (1,700-2,500 เหรียญยูโร)


ในเวลานี้ พบว่ามีการนำชื่อที่ฟังดูแปลกๆ ของประเทศที่อยู่ห่างไกลออกไป อย่างออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, แคนาดา, สหรัฐอเมริกา, โปรตุเกส, สเปน, ฝรั่งเศส, โปแลนด์ สวีเดน และฟินแลนด์ มาบอกต่อๆ กันไป ตามหมู่บ้านนับพันๆ แห่งในประเทศไทย
ยิ่งประเทศเหล่านั้นอยู่ห่างไกลเท่าไหร่
ขบวนการค้าแรงงาน ก็ยิ่งเรียกเก็บค่านายหน้า ได้มากขึ้นเท่านั้น
และประเทศที่ไม่มีความต้องการแรงงานไทยอย่างแน่นอน เช่น จีน, แอฟริกาใต้, คาซัคสถาน, ตุรกี และหมู่เกาะโซโลมอน ก็อาจจะพบอยู่ในการโฆษณาชวนเชื่อของขบวน การค้าแรงงานได้ !


สหภาพคนทำงานต่างประเทศ ได้ตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนของโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เพื่อเป็นองค์กรของแรงงานต่างชาติในการต่อรองและเรียกร้องสิทธิ และค่าเสียหาย รวมทั้งหยุดวง จรของธุรกิจค้าแรงงานข้ามชาติ ที่ได้ทำให้ชีวิตของเกษตรกร คนงาน และครอบครัวล่มสลาย


กิจกรรม


วันที่ 4 มี.ค. (ศาลแรงงานกลาง หัวลำโพง)

เกษตรกรจากหลายจังหวัดที่เดินทางไปเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนประมาณ 100 คน


9.00−17.00 น. จะเดินทางมาที่ศาลแรงงานกลาง หัวลำโพง เพื่อดำเนินการฟ้องร้องค่าเสียหายและเงินค่านายหน้าคืน จากบริษัทสยาม รอยัล จำกัด และบริษัทสินซันชาย จำนวนค่าเสียหายร่วมกันกว่า 16 ล้านบาท


วันที่ 5 มี.ค. (ทำเนียบรัฐบาล)


9.00 น. ครอบครัวคนงานกว่า 20 คน ที่ถูกจับและอยู่ในที่กักกันที่โปแลนด์ จะมารวมตัวที่หน้า ทำเนียบรัฐบาลเพื่อร่วมยื่นเรื่องร้องเรียนกับสหภาพคนทำงานต่างประเทศ


11.00 น. ตัวแทนสหภาพคนทำงานต่างประเทศ เข้าพบรัฐบาลเพื่อติดตามข้อเสนอเรื่องการแก้ไข ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาความเสียหายจากกรณีเบอรี่ที่สวีเดนในปี 2552 กรณีสเปนและกรณีเร่งด่วนเรื่อง คนงานโปแลนด์หลายสิบชีวิตที่กำลังเดือดร้อน


ข้อเรียกร้อง ได้แก่

• ให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเรื่องหนี้สินที่เกิดจากการไปทำงานประเทศสวีเดน และประเทศอื่นๆ

• ให้รัฐบาลจัดส่งคนที่ได้รับความเสียหายจากเบอร์รี่ที่สวีเดนปี 2552 ที่ได้ดำเนินร้องเรียนกับรัฐบาล จากการ ให้กลับไปเก็บเบอร์รี่ในรูปแบบรัฐต่อรัฐ

• การดำเนินการเร่งด่วนในการช่วยเหลือคนงานที่โปร์แลนด์กว่า 50 คน ทั้งในเรื่องอาหาร การเรียกร้องเงินเดือนและค่าเสียหายคืนทั้งจากนายจ้างที่โปแลนด์และบริษัทจัดหางาน

• ให้รัฐบาลเพิกถอนใบอนุญาตบริษัทสยาม รอยัล จำกัด และบริษัทสินซันชาย บริษัท เค เอส แมนพาวเวอร์ บริษัท NT ยูเนียน อุดร และบริษัทกิตติ บราเดอร์ จำกัด


ติดต่อประสานงานที่โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
พัชณีย์ คำหนัก
085−0441778

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แรงงานต่างด้าว

วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7032 ข่าวสดรายวัน


แรงงานต่างด้าว


ถุงแดง



ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมยังขาดแรงงานอีกประมาณ 5 แสนคน โดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และสิ่งทอ

ข้อมูล ดังกล่าวมาจากการเปิดเผยของนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ซึ่งนางพรทิวา เตรียมเข้าหารือกับรมว.แรงงาน ในเร็วๆ นี้ เพื่อหารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหา และเสนอยกเลิกหลักเกณฑ์การพิสูจน์สัญชาติแรงงาน

ขณะที่นายบิล ซอลเทอร์ ผู้อำนวยการองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ เชื่อว่ามาตรการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวของประเทศไทย เช่น การขึ้นทะเบียน การพิสูจน์สัญชาติ และการผลักดันแรงงานเหล่านี้กลับสู่ประเทศต้นทาง ไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้

เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาคนี้ และจะยังคงเป็นแหล่งดึงดูดแรงงานข้ามชาติอย่างต่อเนื่อง

ดัง นั้นถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรกำหนดนโยบายระยะยาวว่าด้วยการเคลื่อนย้ายแรงงาน ให้เป็นนโยบายที่ครอบคลุมถึงเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของประชากร ซึ่งไทยกำลังเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ

ส่วนนายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน ยืนยันว่าจะไม่ทบทวนหรือขยายเวลาในการยื่นความจำนงการขอพิสูจน์สัญชาติออกไป หลังวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา

โดยเชื่อว่าแรงงานต่างด้าวที่มาขึ้นทะเบียนกว่า 1 ล้านคน จะยื่นความจำนงขอพิสูจน์สัญชาติทันกำหนด เนื่องจากเป็นขั้นตอนการยื่นเอกสารเท่านั้น ส่วนกระบวนการพิสูจน์สัญชาติยังมีเวลาเหลืออีก 2 ปี

เป็นข้อมูล 2 ด้านที่กระทรวงแรงงานต้องนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบ


หน้า 8
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlPREF4TURNMU13PT0=&sectionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1DMHdNeTB3TVE9PQ==

--
โปรดอ่าน blog
www.pridiinstitute.com
www.nakkhaothai.com
www.pcpthai.org
http://wdpress.blog.co.uk
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
www.youtube.com/user/naiissarachon#p/a/u/0/34ZvscsnCbA

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สหภาพแรงงานจะผลิตชุดชั้นในยี่ห้อ "ไทรอาม" ขาย สหภาพแรงงาน สี่แยกเทพารักษ์ จ.สมุทรปราการ

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7031 ข่าวสดรายวัน


"ไทรอัมพ์"ยุติการชุมนุม8เดือน




เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 27 ก.พ. ที่บริเวณชั้นล่างของกระทรวงแรงงาน กลุ่มอดีตสมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ซึ่งเป็นคนงานบริษัท บอดี้แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือของบริษัท ไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ประกาศยุติการปักหลักชุมนุมบริเวณใต้ถุนกระทรวงที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่วัน ที่ 13 ต.ค.52 ลง หลังจากกระทรวงเตรียมใช้สถานที่ดังกล่าวจัดงานวันสตรีสากล และตกลงมอบจักรเย็บผ้าให้กับคนงานจำนวน 250 ตัว ตามรายละเอียดในบันทึกข้อตกลงที่กระทรวงทำไว้กับแกนนำในวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยบรรยากาศในงานมีการร้องเพลงปลุกใจ การแสดงละครเวทีเสียดสีสังคม โดยกลุ่มแกนนำ และการ "เสวนา 8 เดือนการต่อสู้สู่ก้าวต่อไปของคนงานหญิงไทรอัมพ์ฯ และขบวนการแรงงาน"

ด้าน น.ส.ธัญยธรณ์ คีรีถาวรพัฒน์ อดีตรองประธานสหภาพ กล่าวถึงทิศทางที่จะดำเนินต่อไปว่า เบื้องต้นจะนำสิ่งของที่เป็นของสหภาพฯ ไปเก็บไว้ที่สหภาพแรงงาน สี่แยกเทพารักษ์ จ.สมุทรปราการ ก่อนเตรียมผลิตชุดชั้นใน "ไทรอาม" ขายแข่ง เชื่อเป็นสินค้าของคนไทยราคาคนไทย ต้องได้รับการตอบรับที่ดีแน่ ส่วนในช่วงงานเสวนา 8 เดือน การต่อสู้ที่บริเวณ ชั้นล่างของกระทรวงแรงงาน มีเครือข่ายองค์กรแรงงาน นักวิชาการ ตลอดจนนักศึกษา ร่วมปราศรัย โดยชี้ตรงกันว่า เป็นตัวอย่างของการรวมตัวที่เข้มแข็ง

"แม้การชุมนุม ที่กระทรวงจะยุติลงภายในวันนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าการต่อสู้ของคนงานจะยุติลง โดยคนงานบางส่วนยังคงรวมตัวกันเรียกร้องการถูกกดขี่ข่มเหง โดยใช้ที่ทำการสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นสถานที่รวมตัวและผลิตชุดชั้นในยี่ห้อ "ไทรอาม" ขาย นอกจากนี้ ยังเคลื่อนไหวประสานกับเครือข่ายแรงงานในต่างประเทศ เพื่อประณามการกระทำของบริษัทซึ่งล่าสุด กระทรวงเศรษฐกิจของประเทศสวิตเซอร์แลนด์กำลังพิจารณาคำร้องของคนงาน ที่ฟ้องร้องว่าบริษัทไม่ได้ปฏิบัติตามหลักสากลของโออีซีดี" อดีตประธานกล่าว


หน้า 11
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01EVXdNekk0TURJMU13PT0=&sectionid=TURNek5RPT0=&day=TWpBeE1DMHdNaTB5T0E9PQ==

--
โปรดอ่าน blog
www.pridiinstitute.com
www.nakkhaothai.com
www.pcpthai.org
http://wdpress.blog.co.uk
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
www.youtube.com/user/naiissarachon#p/a/u/0/34ZvscsnCbA

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คนรากหญ้ามีเสียงในสังคมจริงหรื...

คนรากหญ้ามีเสียงในสังคมจริงหรือ?
avatar
จ๋า


คนรากหญ้ามีเสียงในสังคมจริงหรือ?

วันนี้ ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมในหัวข้อ เรื่อง การประชุมเสวนาทิศทางการแก้ไขปัญหาคนขอทานในสังคมไทยที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ ของสำนักบริการสวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นการประชุมเสวนาเพียงครึ่งวันเท่านั้น เป็นที่น่าเศร้าใจมากที่ในการประชุมเสวนาในครั้งนี้เกี่ยวกับ พรบ.ขอทานนั้น พบว่ารัฐก็ยังมีการทำงานในรูปแบบ เดิม ๆ ที่ไม่ฟังเสียงประชาชนเจ้าของปัญหาโดยแท้จริง ทำร่าง พรบ.ออกมาก่อนแล้วถึงมาจัดเวทีเสวนา แต่ก่อนหน้านั้นไม่ได้ฟังเสียงเจ้าของปัญหาหรือคนที่เกี่ยวข้องด้วยแท้จริง จึงทำให้การแก้ปัญหาไม่ได้ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยแท้จริง ทั้งในความเป็นจริงนั้น

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้นได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ในมาตรา 57 ที่ ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิที่ได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือ ราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสีย สำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่นและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตน ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนิน งาน

ซึ่ง ในการประชุมเสวนาในครั้งนี้เห็นได้ชัดเจนว่า การทำงานของภาครัฐยังเหมือนเดิม ร่างพรบ.โดยไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายโดยแท้จริง เพียงแต่ร่างเสร็จแล้วค่อยมาเปิดเวทีให้คนแสดงความคิดเห็น โดยไม่ได้ย้อนไปดูรัฐธรรมนูญว่าได้ปฏิบัติได้เหมาะสมตามที่รัฐธรรมนูญเขียน ไว้หรือไม่ สุดท้ายพรบ. ขอทานนี้ก็มาย้อนพันกับปัญหาและไม่สามารถแก้ได้อย่างแท้จริง

ใน ที่นี้ขอย้อนกลับไปดูกันไหมครับว่า "ผู้แทน" หรือ "ผู้แทนราษฎร" ของเราเหล่านี้ เคยได้มีกระทู้ถามในสภากันอย่างไรในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีของคนขอทาน เร่ร่อน จรจัด ไร้บ้าน ไร้ที่พึ่งกันอย่างไร

เพราะเหตุว่า กระทู้ถามในสภาฯนั้น ได้แก่ คำถามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสมาชิก ถามถึงนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี เพื่อขอให้ตอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของรัฐบาลในเรื่องใดๆ กระทู้ถามเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สมาชิกรัฐสภา (คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา) ใช้เพื่อตรวจสอบและควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล

เพราะเหตุว่าการตั้งกระทู้ถาม อาจสะท้อนได้ถึงความสนใจของผู้ถาม ท่าทีของผู้ถาม น้ำเสียงของถ้อยคำที่ถามว่าเป็นอย่างไร
ผมยังเชื่อของผมอยู่เองว่า ในหลายกรณี คำถามอาจสำคัญกว่าคำตอบ
เพราะถ้าตั้งโจทย์ผิด คำตอบก็ย่อมจะผิด
คำตอบผิด แนวปฏิบัติก็ย่อมจะผิดตามไปด้วย
บางที การตั้งโจทย์อาจจะยากกว่าการหาคำตอบ
บางที การตอบที่อ้างกันว่าเป็นการตอบโจทย์ อาจเป็นได้แค่การตอบคำตอบ (ที่อยากตอบ)


มาลองดูกันสัก ๕ กระทู้
เริ่มจาก พ.ศ. ๒๔๘๒, ๒๔๘๕, ๒๔๘๗, ๒๕๔๓ และ ๒๕๕๑
เรามาดูความสนใจ ท่าที และน้ำเสียงของถ้อยคำที่ถามกันว่าจะเป็นอย่างไร
เรามาดูกันว่ายุคสมัยที่แตกต่างไกลกันขนาดนั้น คำถามในปัญหาเดิม ได้เปลี่ยน ได้แปลกไปหรือไม่
- -
กระทู้ถามเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒

กระทู้ถามที่ ๘๒/๒๔๘๒
เรื่อง การควบคุมคนขอทาน

คน ที่มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่พอใจที่จะทำงานหาเลี้ยงชีพ ตามที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลช่วยกรุณาหาให้ เช่น ขุดคลอง ทำถนน เป็นต้น สมัครตนเป็นคนขอทาน เป็นการเอาเปรียบแก่คนอื่น ข้าพเจ้าขอเรียนถามว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะควบคุมคนขอทานบ้างหรือไม่


พล.ต.พระยาอมรวิสัยสรเดช
ผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง
(รก. เล่ม ๕๗ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ หน้า ๑๔๐๑)
- -
กระทู้ถามเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕

กระทู้ถามที่ ๔๐/๒๔๘๕
เรื่อง ให้รัฐบาลสงเคราะห์ผู้ไร้อาชีพ อุปการะคนทุพลภาพและเด็กไร้ที่พึ่ง

เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติในยามบ้านเมืองคับขัน และช่วยเหลือราษฎรผู้ยากจนที่ไร้อาชีพ และทั้งรัฐบาลก็ได้แถลงนโยบายว่า "จะจัดการสงเคราะห์ผู้ไร้อาชีพให้มีงานทำ ตลอดจนอุปการะคนทุพพลภาพ ชรา และเด็กไร้ที่พึ่งด้วย" นั้น ขอทราบว่า

๑. การที่รัฐบาลได้สงเคราะห์ผู้ไร้อาชีพให้มีงานทำในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นั้น รัฐบาลได้ดำเนินด้วยวิธีการอย่างไร ราษฎรผู้ไร้อาชีพในจังหวัดนครราชสีมา รัฐบาลได้สำรวจแล้วหรือยัง รัฐบาลได้สงเคราะห์ราษฎรเหล่านี้ให้มีงานทำด้วยวิธีการชนิดไร

๒. การอุปการะคนทุพพลภาพ คนชรา และเด็กไร้ที่พึ่งนั้น รัฐบาลได้มีการอุปการะราษฎรเหล่านี้ ในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาคอย่างไร ราษฎรเหล่านี้ในจังหวัดนครราชสีมา รัฐบาลได้ดำเนินการอุปการะอย่างไรหรือไม่


ร.ท. อู๊ด นิตยสุทธิ์
ผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
(รก. เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๕๓ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ หน้า ๑๘๗๙)

- -
กระทู้ถามเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗

กระทู้ถามที่ ๓๓๖/๒๔๘๗
เรื่อง การสงเคราะห์คนขอทาน คนทุพพลภาพ คนแก่ชรา

๑. รัฐบาลได้จัดการช่วยเหลือเกี่ยวกับคนขอทาน คนแก่ชรา คนทุพพลภาพให้ได้มีที่อยู่อาศัย และมีการทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างไรบ้างหรือไม่ขอทราบกรณีที่รัฐบาลได้จัดการไป แล้ว และท่จะดำเนินนโยบายในเรื่องนี้ต่อไป

๒. ขณะนี้ปรากฏว่ามีขอทาน คนแก่ชรา และทุพพลภาพ ไม่สามารถประกอบการอาชีพอย่างอื่นได้เป็นจำนวนมากมายตามถนนหลวงทั่วไปทำไม รัฐบาลจึงยังไม่ช่วยเหลือจัดการอย่างใดกับบุคคลเหล่านี้

๓. รัฐบาลนี้มีนโยบายอย่างในเรื่องสงเคราะห์การอาชีพประชาชนอย่างไรบ้าง

นายผล แสนสระดี
ผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
(รก. เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๓๑ ง วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๘ หน้า ๗๙๑)




- -
กระทู้ถามเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓
กระทู้ถามที่ ๕๙๓ ร.

เรื่อง การแก้ปัญหาขอทาน

กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ข้าพเจ้าขอตั้งกระทู้ถาม ถามนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
เนื่อง จากในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันได้มีอาชีพขอทานเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากอยู่ตาม แหล่งชุมชนขนาดใหญ่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ศูนย์การค้า และสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญและเสียหายต่อภาพพจน์ของประเทศ ผู้ประกอบอาชีพนี้มีทั้งคนปกติ และผู้พิการ มีทั้งการขอทานที่กระทำไปด้วยความตั้งใจของเจ้าตัวเอง และมีขบวนการที่หากินกับขอทานโดยล่อลวงให้ผู้พิการหรือคนชรามาเป็นผู้ขอแล้ว มีผู้มาคยอรับคอยส่ง และแบ่งเงินให้กับขอทาน จึงเรียนถามว่า

๑. รัฐบาลจะดำเนินการเพื่อให้อาชีพขอทานมีจำนวนน้อยลงอย่างไร ขอทราบรายละเอียด

๒. มีการขึ้นทะเบียนอาชีพคนขอทานเพื่อให้การฝึกอาชีพ สงเคราะห์ และช่วยเหลือทางราชการหรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด

๓. รัฐบาลมีนโยบายที่จะแก้ปัญหามิให้มีอาชีพขอทานในสังคมไทยหรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด

ขอให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา


เปรมศักดิ์ เพียยุระ
ผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น พรรคความหวังใหม่
(รก. เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑ ก วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๓ หน้า ๕๓)

- -
กระทู้ถามเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑
กระทู้ถามที่ ๑๘๗

เรื่อง ปัญหาคนเร่ร่อน จรจัดในกรุงเทพมหานคร

กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ข้าพเจ้าขอตั้งกระทู้ถาม ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดังต่อไปนี้

คน เร่ร่อน จรจัดก่อให้เกิดปัญหากับประชาชนในกรุงเทพมหานครอย่างมาก ทั้งในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน วัฒนธรรม การศึกษาความสะอาดเรียบร้อยของบ้านเมือง รวมถึงเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ สร้างภาระให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษีในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังเป็นการทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวอีกด้วย ดังนั้นรัฐบาลจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อน จรจัดในกรุงเทพมหานครอย่างจริงจังและชัดเจน เพราะคนเร่ร่อน จรจัดเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจก่อให้เกิดปัญหาที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น จึงขอเรียนถามว่า

๑. หน่วยงานใดบ้างที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล รวมถึงกำหนดมาตรการจัดระเบียบคนเร่ร่อน จรจัด และได้ดำเนินการใดไปบ้างแล้ว ขอทราบรายละเอียด

๒. รัฐบาลมีมาตรการควบคุม แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับคนเร่ร่อน จรจัด หรือไม่ อย่างไร และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการเพียงใด ขอทราบรายละเอียด

๓. รัฐบาลมีนโยบายระยะยาวในการแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อน จรจัด ในกรุงเทพมหานครให้เกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรมอย่างไรบ้าง ขอทราบรายละเอียด


ขอให้ตอบในที่ประชุมสภา


เจิมมาศ จึงเลิศศิริ
ผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์
กรุงเทพมหานคร
(รก. เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ หน้า ๙๒)

ได้เห็นความสนใจ ท่าที และน้ำเสียงของถ้อยคำที่ถามกันแล้วว่าเป็นอย่างไร ลองอภิปรายกันดูนะครับ
บันทึกต่อไป ผมจะลองประมวลคำตอบของผู้เกี่ยวข้องที่ได้ตอบกระทู้เหล่านี้ว่าท่านตอบกันอย่างไร

และไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ถ้าชาวเราจะได้ช่วยกันร่วมอภิปรายเพื่อแสวงหาแนวทางและรูปแบบที่หลากหลาย

(ที่มา มงคล ยะภักดี นักสังคมสงเคราะห์)


คนรากหญ้ามีเสียงในสังคมจริงหรือ.....เป็น การย้อนดูว่าเคยมีคนกล่าวถึงเสียงสะท้อนในสภาเกี่ยวกลุ่มคน เร่ร่อน ไร้บ้าน ไร้ที่พึ่ง พิการ คนด้อยโอกาส แต่สุดท้ายการแก้ปัญหาของภาครัฐคือการที่ร่าง พรบ. เพื่อให้คนด้อยโอกาสเป็นขอทาน โดยตัวของพรบ.ขอทาน ยิ่งในมาตรา 8 ของพรบ.ขอทานนั้น เป็นมาตราที่ผู้เข้าร่วมประชุมขัดแย้งเป็นอย่างมาก คือ ลักษณะของคนที่จะแจ้งเป็นขอทาน คือ

1. เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ และไม่สามารถหาเลี้ยงชีพโดยวิธีอื่นได้ตามปกติ

2. เป็นผู้สูงอายุและไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู

3. เป็นผู้ไม่สามารถทำมาหากินเลี้ยงชีพด้วยวิธีอื่นใดเพราะเหตุแห่งสภาพทางกายหรือทางจิต

4. เป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ

ซึ่งมีเนื้อหาที่ส่อไปในทางละเมิดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ในมาตรา 52-57 อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเนื้อหาที่กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนด้อยโอกาสในมาตรา 52-55 ที่ระบุว่า ต้องได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ซึ่ง ในพระราชบัญญัติดังกล่าว นำบุคคลในมาตรา 52-55 มาให้อยู่ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ว่า เป็นกลุ่มบุคคลที่ รัฐ อนุญาตให้ ขอทาน

ในพรบ.ขอทาน ฉบับนี้ เห็นได้ว่าก่อน จะร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนทั่วไปและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพระราช บัญญัติฉบับนี้ แต่ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว ก่อนจะร่างพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ แต่กลับร่างพระราชบัญญัติก่อน แล้วจึงนำมาให้ประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินการผิดขั้นตอน ซึ่งจะมีผลทำให้พระราบัญญัติฉบับนี้ต้องตกไปโดยปริยาย

และ ที่น่าเศร้ามากกว่านั้น คือในการอธิปรายเสวนาครั้งนี้วิทยากรยังใช้การเรียกคนเร่ร่อนไร้บ้านว่า คนเร่ร่อนจรจัด ซึ่งคำนี้ คำว่า “จรจัด” เลิกใช้มานานแล้ว และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใช้เรียกคน เพราะคำนี้เขาใช้เรียก สุนัข สุดท้ายชี้ให้เห็นว่า คนรากหญ้าจริง ๆ ไม่ได้รับรัฐสวัสดิการใด ๆ จากรัฐเลยแม้แต่น้อยไม่ว่าจะเป็น เงิน 2,000 บาท เพราะเป็นแรงงานนอกระบบบ้าง หลักฐานบัตรประชาชนหายไม่สามารถไปยืนได้ต่อใคร ใครก็ไม่สนใจเพราะเขาคนเร่ร่อนไม่มีพรรคมีพวกหรือมีเสียงใด ๆ เงินสวัสดิการผู้สูงอายุก็ไม่ได้รับ แม้ในสิ่งที่เล็กที่สุดคือการออกเสียงแสดงความต้องการในสิทธิความเป็นมนุษย์ เขายังไม่ได้รับหรือไม่มีสิทธิตามที่เขาควรมี

เขียนโดย : อัจฉรา อุดมศิลป์ ผู้ประสานงานฝ่ายเยาวชน

http://www.koomwimarndin.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=koomwimarndincom&thispage=1&No=1217003