สหภาพแรงงานถกปัญหาการจ้างงานชั่วคราว
Sun, 2010-03-07 21:43
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่านักวิชาการสมัยใหม่ไม่ค่อยแตะต้องเรื่องแรงงาน ปัจจุบันมีการอ้างถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่มักจะไม่ค่อยเห็นการพูดถึงเรื่องของแรงงาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญของสังคมเพราะเด็กที่เรียนในมหาวิทยาลัยยังไม่ รู้ตัวเลยว่าจบออกไปแล้วจะไปเป็นแรงงาน
ระวัย ภู่ผะกา สหภาพแรงงานองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า พนักงานประจำไม่มีการใส่ใจกับการทำงาน เลยเกิดการจ้างงานแบบใหม่ซึ่งก็คือการจ้างงานแบบชั่วคราว เพื่อรับกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยแรงงานในส่วนนั้นจะถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างมาก ทั้งที่ลูกจ้างชั่วคราวทำงานเหมือนลูกจ้างประจำทุกประการ แต่ลูกจ้างชั่วคราวกลับไม่ค่อยได้มีโอกาสในการรับสวัสดิการต่างๆ เช่น การขึ้นเงินเดือน ทั้งความเป็นอยู่ระหว่างแรงงานสองประเภทนี้ต่างกัน ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ส่งผลให้มององค์กรในแง่ลบและความจงรักภักดีกับองค์กรหายไป ซึ่งเหล่านี้อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังได้
สุพจน์ พงษ์สุพัฒน์ สหภาพแรงงานข้าราชการและคนทำงานภาครัฐ กล่าวว่า ILO 87,98 เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ แต่มันไม่ได้เป็นยาวิเศษ ไม่ได้มีบทแซงชั่นอย่างเป็นทางการ อย่างดีก็ได้แค่ประจานในที่ประชุมเท่านั้น ที่เจ็บปวดที่สุดสำหรับลูกจ้างชั่วคราวคือ ค่าจ้างค่าตอบแทนไม่เป็นธรรม สถานะไม่มั่นคง ไม่มีอนาคต เรียกลูกจ้างด้อยสิทธิ
ปราณี ศรีกำเนิด สหภาพแรงงานสื่อสารมวลชนไทย (เนชั่น) กล่าวถึงการทำงานในวงการสื่อว่า นายจ้างใช้ช่องในการทำงานแบบฟรีแลนซ์ในการจ้างงาน แต่ไม่มีสหภาพฯ เหมือนเป็นผี สวัสดิการต่างๆก็ไม่ได้เลย ทั้งๆที่ทำงานเหมือนลูกจ้างประจำทุกอย่าง อยู่กันมาอย่างนี้ คีย์เวิร์ด คือคนที่มีปัญหาต้องรวมตัวกัน เราค่อนข้างโชคดีอย่างหนึ่งคือบริษัทของเราหน้าบาง ทั้งยังกล่าวว่าลูกจ้างจะต้องรู้กฎหมาย กฎหมายจะช่วยให้เจรจาได้ง่ายขึ้น
พรวิษณุ พื้นผา อดีตลูกจ้างชั่วคราวจาก สร.ไทยอินดัสเตรียลแก็ส ได้เล่าว่า ความเจ็บปวดของการเป็นแรงงานจ้างเหมา คือการไม่สามารถเข้าร่วมกับสหภาพฯ ซึ่งเคยถูกชักชวนให้เข้าสหภาพฯ เมื่อครั้งยังเป็นลูกจ้างชั่วคราว แต่ถูกข่มขู่จึงไม่กล้าสมัครสมาชิก มาถึงตอนที่ถูกเลิกจ้างจึงได้แจ้งสหภาพฯ สิ่งที่ได้คือ 1.คนงานจ้างเหมาเข้าร่วมสหภาพได้ การรับสมาชิกหรือไม่รับขึ้นอยู่กับสหภาพ 2. สหภาพเป็นตัวแทนเจรจาให้กับคนงานได้
อรัญญา ภคภัทร ผู้ประสานงาน ICEM ได้สรุปว่า การจ้างงานประจำและสมาชิกสหภาพแรงงานลดลงไปเรื่อยๆ เพราะเกษียณอายุ และคนรุ่นใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน ลูกหลานพนักงานประจำ เข้ามาทำงานก็มาเป็นคนงานชั่วคราว เพราะเขาไม่รับเป็นประจำ กุญแจจึงอยู่ที่การรวมตัวกัน สหภาพเองก็ต้องเป็นหัวจักรในการต่อรองโดยมีสมาชิกร่วมกันขับเคลื่อนและยัง กล่าวว่าสหภาพแรงงานเป็นองค์กรประชาธิปไตย มาจากการจัดตั้งของคนงาน ดังนั้นการดำรงอยู่ของสหภาพแรงงานและการจัดตั้งขึ้นอยู่กับคนงานเอง
--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm