ดอกไม้จะบาน

Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แรงงานต่างด้าว

วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7032 ข่าวสดรายวัน


แรงงานต่างด้าว


ถุงแดง



ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมยังขาดแรงงานอีกประมาณ 5 แสนคน โดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และสิ่งทอ

ข้อมูล ดังกล่าวมาจากการเปิดเผยของนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ซึ่งนางพรทิวา เตรียมเข้าหารือกับรมว.แรงงาน ในเร็วๆ นี้ เพื่อหารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหา และเสนอยกเลิกหลักเกณฑ์การพิสูจน์สัญชาติแรงงาน

ขณะที่นายบิล ซอลเทอร์ ผู้อำนวยการองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ เชื่อว่ามาตรการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวของประเทศไทย เช่น การขึ้นทะเบียน การพิสูจน์สัญชาติ และการผลักดันแรงงานเหล่านี้กลับสู่ประเทศต้นทาง ไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้

เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาคนี้ และจะยังคงเป็นแหล่งดึงดูดแรงงานข้ามชาติอย่างต่อเนื่อง

ดัง นั้นถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรกำหนดนโยบายระยะยาวว่าด้วยการเคลื่อนย้ายแรงงาน ให้เป็นนโยบายที่ครอบคลุมถึงเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของประชากร ซึ่งไทยกำลังเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ

ส่วนนายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน ยืนยันว่าจะไม่ทบทวนหรือขยายเวลาในการยื่นความจำนงการขอพิสูจน์สัญชาติออกไป หลังวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา

โดยเชื่อว่าแรงงานต่างด้าวที่มาขึ้นทะเบียนกว่า 1 ล้านคน จะยื่นความจำนงขอพิสูจน์สัญชาติทันกำหนด เนื่องจากเป็นขั้นตอนการยื่นเอกสารเท่านั้น ส่วนกระบวนการพิสูจน์สัญชาติยังมีเวลาเหลืออีก 2 ปี

เป็นข้อมูล 2 ด้านที่กระทรวงแรงงานต้องนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบ


หน้า 8
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlPREF4TURNMU13PT0=&sectionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1DMHdNeTB3TVE9PQ==

--
โปรดอ่าน blog
www.pridiinstitute.com
www.nakkhaothai.com
www.pcpthai.org
http://wdpress.blog.co.uk
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
www.youtube.com/user/naiissarachon#p/a/u/0/34ZvscsnCbA

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สหภาพแรงงานจะผลิตชุดชั้นในยี่ห้อ "ไทรอาม" ขาย สหภาพแรงงาน สี่แยกเทพารักษ์ จ.สมุทรปราการ

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7031 ข่าวสดรายวัน


"ไทรอัมพ์"ยุติการชุมนุม8เดือน




เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 27 ก.พ. ที่บริเวณชั้นล่างของกระทรวงแรงงาน กลุ่มอดีตสมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ซึ่งเป็นคนงานบริษัท บอดี้แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือของบริษัท ไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ประกาศยุติการปักหลักชุมนุมบริเวณใต้ถุนกระทรวงที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่วัน ที่ 13 ต.ค.52 ลง หลังจากกระทรวงเตรียมใช้สถานที่ดังกล่าวจัดงานวันสตรีสากล และตกลงมอบจักรเย็บผ้าให้กับคนงานจำนวน 250 ตัว ตามรายละเอียดในบันทึกข้อตกลงที่กระทรวงทำไว้กับแกนนำในวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยบรรยากาศในงานมีการร้องเพลงปลุกใจ การแสดงละครเวทีเสียดสีสังคม โดยกลุ่มแกนนำ และการ "เสวนา 8 เดือนการต่อสู้สู่ก้าวต่อไปของคนงานหญิงไทรอัมพ์ฯ และขบวนการแรงงาน"

ด้าน น.ส.ธัญยธรณ์ คีรีถาวรพัฒน์ อดีตรองประธานสหภาพ กล่าวถึงทิศทางที่จะดำเนินต่อไปว่า เบื้องต้นจะนำสิ่งของที่เป็นของสหภาพฯ ไปเก็บไว้ที่สหภาพแรงงาน สี่แยกเทพารักษ์ จ.สมุทรปราการ ก่อนเตรียมผลิตชุดชั้นใน "ไทรอาม" ขายแข่ง เชื่อเป็นสินค้าของคนไทยราคาคนไทย ต้องได้รับการตอบรับที่ดีแน่ ส่วนในช่วงงานเสวนา 8 เดือน การต่อสู้ที่บริเวณ ชั้นล่างของกระทรวงแรงงาน มีเครือข่ายองค์กรแรงงาน นักวิชาการ ตลอดจนนักศึกษา ร่วมปราศรัย โดยชี้ตรงกันว่า เป็นตัวอย่างของการรวมตัวที่เข้มแข็ง

"แม้การชุมนุม ที่กระทรวงจะยุติลงภายในวันนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าการต่อสู้ของคนงานจะยุติลง โดยคนงานบางส่วนยังคงรวมตัวกันเรียกร้องการถูกกดขี่ข่มเหง โดยใช้ที่ทำการสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นสถานที่รวมตัวและผลิตชุดชั้นในยี่ห้อ "ไทรอาม" ขาย นอกจากนี้ ยังเคลื่อนไหวประสานกับเครือข่ายแรงงานในต่างประเทศ เพื่อประณามการกระทำของบริษัทซึ่งล่าสุด กระทรวงเศรษฐกิจของประเทศสวิตเซอร์แลนด์กำลังพิจารณาคำร้องของคนงาน ที่ฟ้องร้องว่าบริษัทไม่ได้ปฏิบัติตามหลักสากลของโออีซีดี" อดีตประธานกล่าว


หน้า 11
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01EVXdNekk0TURJMU13PT0=&sectionid=TURNek5RPT0=&day=TWpBeE1DMHdNaTB5T0E9PQ==

--
โปรดอ่าน blog
www.pridiinstitute.com
www.nakkhaothai.com
www.pcpthai.org
http://wdpress.blog.co.uk
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
www.youtube.com/user/naiissarachon#p/a/u/0/34ZvscsnCbA

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คนรากหญ้ามีเสียงในสังคมจริงหรื...

คนรากหญ้ามีเสียงในสังคมจริงหรือ?
avatar
จ๋า


คนรากหญ้ามีเสียงในสังคมจริงหรือ?

วันนี้ ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมในหัวข้อ เรื่อง การประชุมเสวนาทิศทางการแก้ไขปัญหาคนขอทานในสังคมไทยที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ ของสำนักบริการสวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นการประชุมเสวนาเพียงครึ่งวันเท่านั้น เป็นที่น่าเศร้าใจมากที่ในการประชุมเสวนาในครั้งนี้เกี่ยวกับ พรบ.ขอทานนั้น พบว่ารัฐก็ยังมีการทำงานในรูปแบบ เดิม ๆ ที่ไม่ฟังเสียงประชาชนเจ้าของปัญหาโดยแท้จริง ทำร่าง พรบ.ออกมาก่อนแล้วถึงมาจัดเวทีเสวนา แต่ก่อนหน้านั้นไม่ได้ฟังเสียงเจ้าของปัญหาหรือคนที่เกี่ยวข้องด้วยแท้จริง จึงทำให้การแก้ปัญหาไม่ได้ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยแท้จริง ทั้งในความเป็นจริงนั้น

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้นได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ในมาตรา 57 ที่ ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิที่ได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือ ราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสีย สำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่นและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตน ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนิน งาน

ซึ่ง ในการประชุมเสวนาในครั้งนี้เห็นได้ชัดเจนว่า การทำงานของภาครัฐยังเหมือนเดิม ร่างพรบ.โดยไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายโดยแท้จริง เพียงแต่ร่างเสร็จแล้วค่อยมาเปิดเวทีให้คนแสดงความคิดเห็น โดยไม่ได้ย้อนไปดูรัฐธรรมนูญว่าได้ปฏิบัติได้เหมาะสมตามที่รัฐธรรมนูญเขียน ไว้หรือไม่ สุดท้ายพรบ. ขอทานนี้ก็มาย้อนพันกับปัญหาและไม่สามารถแก้ได้อย่างแท้จริง

ใน ที่นี้ขอย้อนกลับไปดูกันไหมครับว่า "ผู้แทน" หรือ "ผู้แทนราษฎร" ของเราเหล่านี้ เคยได้มีกระทู้ถามในสภากันอย่างไรในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีของคนขอทาน เร่ร่อน จรจัด ไร้บ้าน ไร้ที่พึ่งกันอย่างไร

เพราะเหตุว่า กระทู้ถามในสภาฯนั้น ได้แก่ คำถามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสมาชิก ถามถึงนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี เพื่อขอให้ตอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของรัฐบาลในเรื่องใดๆ กระทู้ถามเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สมาชิกรัฐสภา (คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา) ใช้เพื่อตรวจสอบและควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล

เพราะเหตุว่าการตั้งกระทู้ถาม อาจสะท้อนได้ถึงความสนใจของผู้ถาม ท่าทีของผู้ถาม น้ำเสียงของถ้อยคำที่ถามว่าเป็นอย่างไร
ผมยังเชื่อของผมอยู่เองว่า ในหลายกรณี คำถามอาจสำคัญกว่าคำตอบ
เพราะถ้าตั้งโจทย์ผิด คำตอบก็ย่อมจะผิด
คำตอบผิด แนวปฏิบัติก็ย่อมจะผิดตามไปด้วย
บางที การตั้งโจทย์อาจจะยากกว่าการหาคำตอบ
บางที การตอบที่อ้างกันว่าเป็นการตอบโจทย์ อาจเป็นได้แค่การตอบคำตอบ (ที่อยากตอบ)


มาลองดูกันสัก ๕ กระทู้
เริ่มจาก พ.ศ. ๒๔๘๒, ๒๔๘๕, ๒๔๘๗, ๒๕๔๓ และ ๒๕๕๑
เรามาดูความสนใจ ท่าที และน้ำเสียงของถ้อยคำที่ถามกันว่าจะเป็นอย่างไร
เรามาดูกันว่ายุคสมัยที่แตกต่างไกลกันขนาดนั้น คำถามในปัญหาเดิม ได้เปลี่ยน ได้แปลกไปหรือไม่
- -
กระทู้ถามเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒

กระทู้ถามที่ ๘๒/๒๔๘๒
เรื่อง การควบคุมคนขอทาน

คน ที่มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่พอใจที่จะทำงานหาเลี้ยงชีพ ตามที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลช่วยกรุณาหาให้ เช่น ขุดคลอง ทำถนน เป็นต้น สมัครตนเป็นคนขอทาน เป็นการเอาเปรียบแก่คนอื่น ข้าพเจ้าขอเรียนถามว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะควบคุมคนขอทานบ้างหรือไม่


พล.ต.พระยาอมรวิสัยสรเดช
ผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง
(รก. เล่ม ๕๗ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ หน้า ๑๔๐๑)
- -
กระทู้ถามเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕

กระทู้ถามที่ ๔๐/๒๔๘๕
เรื่อง ให้รัฐบาลสงเคราะห์ผู้ไร้อาชีพ อุปการะคนทุพลภาพและเด็กไร้ที่พึ่ง

เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติในยามบ้านเมืองคับขัน และช่วยเหลือราษฎรผู้ยากจนที่ไร้อาชีพ และทั้งรัฐบาลก็ได้แถลงนโยบายว่า "จะจัดการสงเคราะห์ผู้ไร้อาชีพให้มีงานทำ ตลอดจนอุปการะคนทุพพลภาพ ชรา และเด็กไร้ที่พึ่งด้วย" นั้น ขอทราบว่า

๑. การที่รัฐบาลได้สงเคราะห์ผู้ไร้อาชีพให้มีงานทำในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นั้น รัฐบาลได้ดำเนินด้วยวิธีการอย่างไร ราษฎรผู้ไร้อาชีพในจังหวัดนครราชสีมา รัฐบาลได้สำรวจแล้วหรือยัง รัฐบาลได้สงเคราะห์ราษฎรเหล่านี้ให้มีงานทำด้วยวิธีการชนิดไร

๒. การอุปการะคนทุพพลภาพ คนชรา และเด็กไร้ที่พึ่งนั้น รัฐบาลได้มีการอุปการะราษฎรเหล่านี้ ในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาคอย่างไร ราษฎรเหล่านี้ในจังหวัดนครราชสีมา รัฐบาลได้ดำเนินการอุปการะอย่างไรหรือไม่


ร.ท. อู๊ด นิตยสุทธิ์
ผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
(รก. เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๕๓ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ หน้า ๑๘๗๙)

- -
กระทู้ถามเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗

กระทู้ถามที่ ๓๓๖/๒๔๘๗
เรื่อง การสงเคราะห์คนขอทาน คนทุพพลภาพ คนแก่ชรา

๑. รัฐบาลได้จัดการช่วยเหลือเกี่ยวกับคนขอทาน คนแก่ชรา คนทุพพลภาพให้ได้มีที่อยู่อาศัย และมีการทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างไรบ้างหรือไม่ขอทราบกรณีที่รัฐบาลได้จัดการไป แล้ว และท่จะดำเนินนโยบายในเรื่องนี้ต่อไป

๒. ขณะนี้ปรากฏว่ามีขอทาน คนแก่ชรา และทุพพลภาพ ไม่สามารถประกอบการอาชีพอย่างอื่นได้เป็นจำนวนมากมายตามถนนหลวงทั่วไปทำไม รัฐบาลจึงยังไม่ช่วยเหลือจัดการอย่างใดกับบุคคลเหล่านี้

๓. รัฐบาลนี้มีนโยบายอย่างในเรื่องสงเคราะห์การอาชีพประชาชนอย่างไรบ้าง

นายผล แสนสระดี
ผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
(รก. เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๓๑ ง วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๘ หน้า ๗๙๑)




- -
กระทู้ถามเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓
กระทู้ถามที่ ๕๙๓ ร.

เรื่อง การแก้ปัญหาขอทาน

กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ข้าพเจ้าขอตั้งกระทู้ถาม ถามนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
เนื่อง จากในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันได้มีอาชีพขอทานเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากอยู่ตาม แหล่งชุมชนขนาดใหญ่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ศูนย์การค้า และสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญและเสียหายต่อภาพพจน์ของประเทศ ผู้ประกอบอาชีพนี้มีทั้งคนปกติ และผู้พิการ มีทั้งการขอทานที่กระทำไปด้วยความตั้งใจของเจ้าตัวเอง และมีขบวนการที่หากินกับขอทานโดยล่อลวงให้ผู้พิการหรือคนชรามาเป็นผู้ขอแล้ว มีผู้มาคยอรับคอยส่ง และแบ่งเงินให้กับขอทาน จึงเรียนถามว่า

๑. รัฐบาลจะดำเนินการเพื่อให้อาชีพขอทานมีจำนวนน้อยลงอย่างไร ขอทราบรายละเอียด

๒. มีการขึ้นทะเบียนอาชีพคนขอทานเพื่อให้การฝึกอาชีพ สงเคราะห์ และช่วยเหลือทางราชการหรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด

๓. รัฐบาลมีนโยบายที่จะแก้ปัญหามิให้มีอาชีพขอทานในสังคมไทยหรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด

ขอให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา


เปรมศักดิ์ เพียยุระ
ผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น พรรคความหวังใหม่
(รก. เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑ ก วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๓ หน้า ๕๓)

- -
กระทู้ถามเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑
กระทู้ถามที่ ๑๘๗

เรื่อง ปัญหาคนเร่ร่อน จรจัดในกรุงเทพมหานคร

กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ข้าพเจ้าขอตั้งกระทู้ถาม ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดังต่อไปนี้

คน เร่ร่อน จรจัดก่อให้เกิดปัญหากับประชาชนในกรุงเทพมหานครอย่างมาก ทั้งในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน วัฒนธรรม การศึกษาความสะอาดเรียบร้อยของบ้านเมือง รวมถึงเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ สร้างภาระให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษีในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังเป็นการทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวอีกด้วย ดังนั้นรัฐบาลจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อน จรจัดในกรุงเทพมหานครอย่างจริงจังและชัดเจน เพราะคนเร่ร่อน จรจัดเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจก่อให้เกิดปัญหาที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น จึงขอเรียนถามว่า

๑. หน่วยงานใดบ้างที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล รวมถึงกำหนดมาตรการจัดระเบียบคนเร่ร่อน จรจัด และได้ดำเนินการใดไปบ้างแล้ว ขอทราบรายละเอียด

๒. รัฐบาลมีมาตรการควบคุม แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับคนเร่ร่อน จรจัด หรือไม่ อย่างไร และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการเพียงใด ขอทราบรายละเอียด

๓. รัฐบาลมีนโยบายระยะยาวในการแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อน จรจัด ในกรุงเทพมหานครให้เกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรมอย่างไรบ้าง ขอทราบรายละเอียด


ขอให้ตอบในที่ประชุมสภา


เจิมมาศ จึงเลิศศิริ
ผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์
กรุงเทพมหานคร
(รก. เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ หน้า ๙๒)

ได้เห็นความสนใจ ท่าที และน้ำเสียงของถ้อยคำที่ถามกันแล้วว่าเป็นอย่างไร ลองอภิปรายกันดูนะครับ
บันทึกต่อไป ผมจะลองประมวลคำตอบของผู้เกี่ยวข้องที่ได้ตอบกระทู้เหล่านี้ว่าท่านตอบกันอย่างไร

และไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ถ้าชาวเราจะได้ช่วยกันร่วมอภิปรายเพื่อแสวงหาแนวทางและรูปแบบที่หลากหลาย

(ที่มา มงคล ยะภักดี นักสังคมสงเคราะห์)


คนรากหญ้ามีเสียงในสังคมจริงหรือ.....เป็น การย้อนดูว่าเคยมีคนกล่าวถึงเสียงสะท้อนในสภาเกี่ยวกลุ่มคน เร่ร่อน ไร้บ้าน ไร้ที่พึ่ง พิการ คนด้อยโอกาส แต่สุดท้ายการแก้ปัญหาของภาครัฐคือการที่ร่าง พรบ. เพื่อให้คนด้อยโอกาสเป็นขอทาน โดยตัวของพรบ.ขอทาน ยิ่งในมาตรา 8 ของพรบ.ขอทานนั้น เป็นมาตราที่ผู้เข้าร่วมประชุมขัดแย้งเป็นอย่างมาก คือ ลักษณะของคนที่จะแจ้งเป็นขอทาน คือ

1. เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ และไม่สามารถหาเลี้ยงชีพโดยวิธีอื่นได้ตามปกติ

2. เป็นผู้สูงอายุและไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู

3. เป็นผู้ไม่สามารถทำมาหากินเลี้ยงชีพด้วยวิธีอื่นใดเพราะเหตุแห่งสภาพทางกายหรือทางจิต

4. เป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ

ซึ่งมีเนื้อหาที่ส่อไปในทางละเมิดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ในมาตรา 52-57 อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเนื้อหาที่กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนด้อยโอกาสในมาตรา 52-55 ที่ระบุว่า ต้องได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ซึ่ง ในพระราชบัญญัติดังกล่าว นำบุคคลในมาตรา 52-55 มาให้อยู่ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ว่า เป็นกลุ่มบุคคลที่ รัฐ อนุญาตให้ ขอทาน

ในพรบ.ขอทาน ฉบับนี้ เห็นได้ว่าก่อน จะร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนทั่วไปและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพระราช บัญญัติฉบับนี้ แต่ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว ก่อนจะร่างพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ แต่กลับร่างพระราชบัญญัติก่อน แล้วจึงนำมาให้ประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินการผิดขั้นตอน ซึ่งจะมีผลทำให้พระราบัญญัติฉบับนี้ต้องตกไปโดยปริยาย

และ ที่น่าเศร้ามากกว่านั้น คือในการอธิปรายเสวนาครั้งนี้วิทยากรยังใช้การเรียกคนเร่ร่อนไร้บ้านว่า คนเร่ร่อนจรจัด ซึ่งคำนี้ คำว่า “จรจัด” เลิกใช้มานานแล้ว และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใช้เรียกคน เพราะคำนี้เขาใช้เรียก สุนัข สุดท้ายชี้ให้เห็นว่า คนรากหญ้าจริง ๆ ไม่ได้รับรัฐสวัสดิการใด ๆ จากรัฐเลยแม้แต่น้อยไม่ว่าจะเป็น เงิน 2,000 บาท เพราะเป็นแรงงานนอกระบบบ้าง หลักฐานบัตรประชาชนหายไม่สามารถไปยืนได้ต่อใคร ใครก็ไม่สนใจเพราะเขาคนเร่ร่อนไม่มีพรรคมีพวกหรือมีเสียงใด ๆ เงินสวัสดิการผู้สูงอายุก็ไม่ได้รับ แม้ในสิ่งที่เล็กที่สุดคือการออกเสียงแสดงความต้องการในสิทธิความเป็นมนุษย์ เขายังไม่ได้รับหรือไม่มีสิทธิตามที่เขาควรมี

เขียนโดย : อัจฉรา อุดมศิลป์ ผู้ประสานงานฝ่ายเยาวชน

http://www.koomwimarndin.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=koomwimarndincom&thispage=1&No=1217003